ด้วยงานวิจัยใหม่ๆ ของยาเหลียนฮัวชิงเวินที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง การหมั่นทบทวนข้อมูลจากงานวิจัยอย่างเป็นระบบ จึงนับเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในตำรับยาอย่างถี่ถ้วน
(การทบทวนข้อมูลงานวิจัยอย่างเป็นระบบก็คือ การนับรวมทุกงานวิจัยที่ได้มาตรฐานมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ครอบคลุมและเป็นกลาง ต่างจากการสุ่มหยิบหรือคัดเลือกงานวิจัยที่ตรงใจเพียงแค่บางชิ้นมาใช้อ้างอิง)
ซึ่งล่าสุดนั้น ก็ได้มีบทความวิชาการที่รวมเอาข้อมูลการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของยาเหลียนฮัวชิงเวินซึ่งจัดทำโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปลายปี 2565 และยังมีอีกบทความที่เผยแพร่ในวารสารยาน่ารู้ ฉบับที่ 2/2566 โดยเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยแต่ละบทความก็จะมีเนื้อความสำคัญดังนี้
บทความวิชาการ โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
บทสรุปงานวิจัยทางคลินิกในด้านโควิด-19
- การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 7 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 916 คน พบว่าผู้ป่วยโควิดที่ได้รับยาเหลียนฮัวชิงเวิน จะหายจากอาการต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับเฉพาะการรักษามาตรฐาน โดยเฉพาะสำหรับอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก ทั้งยังเกิดอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่า
- การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 5 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 830 คน พบว่าการใช้ยาเหลียนฮัวชิงเวินในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อยถึงปานกลางจะช่วยลดโอกาสพัฒนาไปสู่อาการรุนแรงได้
- การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 9 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,152 คน พบว่ายาเหลียนฮัวชิงเวิน เมื่อใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษามาตรฐาน จะสามารถช่วยเพิ่มอัตราการหายเมื่อประเมินจากภาพฉายทรวงอกได้ประมาณ 1.3 เท่า และลดโอกาสกำเริบรุนแรงเหลือเพียง 0.45 เท่า
บทสรุปงานวิจัยทางคลินิกในด้านไข้หวัดใหญ่
- การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 10 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,525 คน พบว่ายาเหลียนฮัวชิงเวินมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากโรคไข้หวัดใหญ่เหนือกว่ายาต้านไวรัสเคมี โดยจะช่วยให้หายจากอาการปวดศีรษะ ไข้ เจ็บคอ ไอ และปวดกล้ามเนื้อได้เร็วกว่า
- การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 955 คน พบว่าการใช้ยาเหลียนฮัวชิงเวินจะมีประสิทธิภาพในการลดไข้สูงกว่าการรักษามาตรฐาน
ข้อมูลความปลอดภัยการใช้ยา
จากการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ของยาเหลียนฮัวในช่วง ม.ค. 2552 ถึง ม.ค. 2565 พบรายงานเพียงแค่ประมาณ 10,000 รายงาน ในขณะที่ปริมาณการใช้ยาในช่วงดังกล่าวมีมากถึง 33 พันล้านแคปซูล ข้อมูลดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่ายาเหลียนฮัวชิงเวินมีอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในระดับน้อยมาก ทั้งยังมีความรุนแรงน้อยและจะหายได้เองเมื่อหยุดใช้ยา
ข้อมูลน่าสนใจอื่นๆ
- ยาเหลียนฮัวชิงเวินประกอบไปด้วยสารสกัดจากสมุนไพรจีน 13 ชนิด มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอย่างน้อย 61 รายการ
- ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญของยาเหลียนฮัวชิงเวินจะประกอบไปด้วยฤทธิ์ต้านไวรัส ลดการอักเสบ และลดการเกิดพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อปอด
- นอกจากโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 แล้ว ยังมีงานศึกษาพบว่ายาเหลียนฮัวชิงเวินมีประสิทธิภาพที่น่าพอใจในการรักษาโรคโพรงไซนัสอักเสบและโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังอีกด้วย
บทความฉบับเต็ม: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1269
บทความจากวารสารยาน่ารู้ฉบับที่ 2/2566
บทสรุปงานวิจัยทางคลินิกในด้านโควิด-19
- การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 16 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,896 คน พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับยาเหลียนฮัวชิงเวินร่วมกับการรักษามาตรฐานจะหายจากอาการไข้ ไอ เหนื่อยล้า แน่นหน้าอก และหายใจไม่สะดวกได้เร็วกว่า ทั้งยังมีจำนวนวันพักรักษาในโรงพยาบาลสั้นกว่าและตรวจไม่พบเชื้อโควิดได้เร็วกว่า ในขณะที่ไม่พบความต่างในด้านอาการไม่พึงประสงค์
- ในด้านการป้องกัน ก็มีงานวิจัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,976 คน ที่พบว่าผู้ใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยงโควิดสูงกลุ่มที่ได้รับยาเหลียนฮัวชิงเวินจะมีอัตราการติดเชื้อต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญ (1 จาก 1070 คน หรือ 0.09% เทียบกับ 6 จาก 840 คน หรือ 0.71%)
บทสรุปงานวิจัยทางคลินิกในด้านไข้หวัดใหญ่
การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 5 ชิ้น พบว่าผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่กลุ่มที่ได้รับยาเหลียนฮัวชิงเวินจะมีอาการดีขึ้นเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเคมี
ข้อมูลความปลอดภัยการใช้ยา
ข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากงานวิจัยต่างๆ อาทิจากการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยจำนวน 16 ชิ้น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,896 คน ก็ได้พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาเหลียนฮัวชิงเวินและกลุ่มที่ได้รับเฉพาะการรักษามาตรฐาน ข้อมูลดังกล่าวนี้ถือว่าสอดคล้องกับรายงานการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่เก็บรวบรวมระหว่างช่วง ม.ค. 2552 ถึง ม.ค. 2565
ข้อมูลน่าสนใจอื่นๆ
- ยาเหลียนฮัวชิงเวินถูกพัฒนาขึ้นตามหลักการของยาจีนแผนโบราณจากสูตรตำรับยา 2 ตำรับ คือ Maxing-Shigan-Tang และ Yinqiao-San
- ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ยาเหลียนฮัวชิงเวินจะถูกบรรจุอยู่ในเภสัชตำรับจีน เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและบัญชีประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษา Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS) ซึ่งระบาดในปี พ.ศ. 2546 ไข้หวัดใหญ่จากไวรัส H7N9, H3N2 และ H1N1 ซึ่งระบาดในปี พ.ศ. 2552 และโควิด-19 (SARS-CoV-2) ซึ่งอุบัติขึ้นในปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งมีการนำมาใช้ในโรคมือ-เท้า-ปาก และโรคของระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทอนซิลและไซนัสอักเสบเรื้อรัง
- ผลงานวิจัยโดยการใช้ Network Pharmacology พบว่ายาเหลียนฮัวชิงเวินมีสารสำคัญถึง 158 ชนิด และมีเป้าหมายการออกฤทธิ์ 49 เป้าหมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ การตอบสนองด้านภูมิคุ้มกัน ภาวะ Oxidative Stress ฯลฯ
บทความฉบับเต็ม: https://tcmscholar.com/lianhua-qingwen/